ความปลอดภัย

ในการบริหารจัดการคลังสินค้าและกระจายสินค้าในประเทศไทยนั้น โดยทั่วไปแล้ว ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์จะต้องดำเนินการอยู่บนมาตรฐานของความปลอดภัย ซึ่งบริษัท ไอ. แอล. เอส. เองก็ให้ความสำคัญและปฎิบัติตามหลักการของ HES (Health Environment and Safety) มาอย่างต่อเนื่อง จนลูกค้ามั่นใจในความปลอดภัยของสินค้าเมื่ออยู่ในการดูแลของเรา ทั้งในคลังสินค้าและระหว่างการขนส่ง

ความปลอดภัยในคลังสินค้า

การบริหารจัดการ HES ในคลังสินค้าเรา จะอยู่บนพื้นฐานสำคัญ 4 ประการ คือ

  • การมีส่วนร่วม – พนักงานทุกคนจะมีส่วนร่วม และรับผิดชอบในการดูแลตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงเราได้กำหนดเป้าหมายในด้านความปลอดภัยไว้เป็นหนึ่งในนโยบายในการทำงาน อันได้แก่ “Zero Accident, Zero incident and Zero injuries”
  • การตรวจตราและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน – ในแต่ละแผนกจะมีการตรวจสอบสภาพพื้นที่ทำงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่อย่างสม่ำเสมอ ว่ามีความเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายหรือไม่ เช่น การตรวจดูอุปกรณ์ / ระบบไฟฟ้าภายในแผนก เป็นต้น
  • การควบคุมและป้องกันอันตรายต่างๆ – เรายึดหลักว่า ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ดังนั้นในแต่ละแผนกจะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยทั้งด้านความพร้อมของกำลังคน อุปกรณ์และพื้นที่ก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง รวมถึงการจัดเก็บและตรวจสภาพหลังการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
  • การอบรม – ถึงแม้เราจะมีแผนกที่ดูแลตรวจสอบความปลอดภัยภายในคลังสินค้าโดยเฉพาะแล้ว เรายังได้จัดให้มีการอบรมแก่พนักงานในแผนกต่างๆ เพื่อให้เข้าใจในเรื่องมาตรฐานการดูแลสุขอนามัย สภาพแวดล้อม และความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ความปลอดภัยบนท้องถนน

นับตั้งแต่ปีค.ศ. 2006 บริษัทได้เริ่มโครงการความปลอดภัยของการขนส่งทางบก RTS (Road Transport Safety) ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยให้เราทราบปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน และเป็นโครงการที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการรถขนส่งและพนักงานขนส่งให้เกิดความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน

พนักงานขับรถของเราจะได้รับการอบรมการขับขี่ปลอดภัย และการใช้อุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างถูกต้องปลอดภัย เพื่อให้เราสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างตรงเวลา ในสภาพที่ดี

โครงการ RTS นี้ ช่วยให้เราสามารถบริหารงานขนส่งได้อย่างมีระบบและดำเนินงานอย่างเป็นมาตรฐานได้ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • การคัดเลือกพนักงานและการตรวจสุขภาพ – ในการคัดสรรพนักงานขนส่งของบริษัท นอกจากจะพิจารณาเรื่องความสามารถในการขับขี่แล้ว เรายังดูจากประสบการณ์ และสุขภาพร่างกายด้วย โดยพนักงานขนส่งเราจะต้องผ่านการตรวจสารเสพติด นอกจากนี้ เรายังจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีแก่พนักงานขับรถด้วยเช่นกัน
  • การป้องกัน – ก่อนการขึ้นสินค้าทุกครั้ง เราจะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของรถบรรทุก และความพร้อมของพนักงานขนส่ง เพื่อให้มั่นใจว่า พร้อมปฏิบัติงาน และไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
  • การอบรมจากหน่วยงานภายนอก SMITH Training – ซึ่งมุ่งเน้นด้านการขับขี่ปลอดภัย โดยจะมีการทบทวนและประเมินผลจากการอบรมด้วย
  • การประชุมพนักงานขับรถ (Driver Safety Meeting) –เป็นการรับทราบข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและการขับขี่จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์จริง เช่น การระมัดระวังงานก่อสร้างหรือปรับปรุงถนน การปิดการจราจร เป็นต้น
  • การวางแผนการเดินทาง (Journey Planning) – เราได้นำระบบ TMS และ GPS เข้ามาช่วยในการวางแผนการเดินทางและการจัดสรรรถขนส่ง ให้มีการวิ่งงาน และหมุนเวียนการใช้รถอย่างเหมาะสม
  • การจัดการความเหนื่อยล้า (Fatigue Management) – เนื่องจากการขับขี่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ อาจส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้า และเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ หรือความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ดังนั้น เราจึงต้องจัดการให้มีการฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เช่น มีการสลับการวิ่งขนส่งในเส้นทางใกล้และไกลในรถแต่ละคัน ในบางเส้นทางอาจต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน สลับเปลี่ยนกัน กำหนดจำนวนชั่วโมงขับขี่สูงสุด (ห้ามขับขี่เกินจำนวนชั่วโมงที่กำหนด) เป็นต้น

ติดตามเราได้ผ่านทางอีเมล